การแชร์รูป แชร์ภาพศพ มีโทษอะไรบ้าง? การเผยแพร่ภาพศพนั้นมีเจตนาเพื่อพยายามยืนยันตัวผู้เสียชีวิต แต่ตามกฎหมายแล้ว การแชร์ภาพศพต้องระมัดระวังความผิดทางกฎหมายด้วย โดยต้องยอมรับว่า หลายต่อหลายครั้งที่ญาติของผู้เสียชีวิตขอความร่วมมืองดการแชร์ภาพศพ แชร์รูปศพของผู้เสียชีวิต
ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาไปไกล การส่งภาพ แชร์ภาพ นั้นจึงทำได้ง่าย แต่อาจกระทบต่อความรู้สึกของครอบครัวเหยื่อ ดังนั้น มาร่วมสร้างจิตสำนึกที่ดี ด้วยการไม่แชร์รูป แชร์ภาพผู้เสียชีวิต ดังเช่นกรณีก่อนหน้านี้ อย่าง ภาพศพแตงโม หรือรูปแตงโมตอนเจอร่าง และล่าสุด ภาพศพเหยื่อกราดยิงหนองบัวลำภู ที่แพร่บนสังคมออนไลน์ แม้ว่าญาติ เพื่อนสนิทจะร้องขอก็ตามแต่ ดังนั้น วันนี้คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมจะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ แชร์รูป แชร์ภาพศพ มีโทษอะไรบ้าง? จะได้ระมัดระวังในการส่งต่อ
กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 366/4 ว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ” สรุปง่าย ๆ คือ ญาติผู้ตาย สามารถฟ้องร้อง เพราะการเผยแพร่ภาพศพถือเป็นสภาพที่ไม่น่าดูของผู้ตาย ทั้งผู้ตายและญาติไม่ต้องการเผยแพร่ภาพเหล่านั้น การแชร์ภาพศพ หรือโพสต์ภาพศพ จึงไม่ต่างอะไรไปจากการดูหมิ่นผู้ตาย โปรดนึกถึง “ใจเขาใจเรา”
การแชร์ภาพศพนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรแก่สังคมเลย แม้หลายครั้งที่คนแชร์จะหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง เช่นต้องการให้ญาติเขารับรู้ หรือหวังดีกับผู้เสียชีวิต แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องอวดให้ใครรู้ว่าเราเข้าถึงข้อมูลเร็ว หรือกลัวว่าจะคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง หรือรายงานความจริงที่จะอาจกลายเป็นทำลายล้าง การสูญเสียคนที่คุณรักเป็นช่วงเวลาแห่งอารมณ์สำหรับครอบครัวและเพื่อนสนิท และอาจ(ไม่ใช่หน้าที่)จะนำความคิดของคุณมาเป็นคำพูด
เราควรหยิบยื่นความเห็นอกเห็นใจ แก่ผู้ที่กำลังสูญเสีย ให้เวลาพวกเขาได้ใช้เวลากับตัวเอง สำหรับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน ๆ ของผู้ตายย่อมดีที่สุด ฉะนั้น “ควรหยุดการแชร์ภาพศพ” เพื่อเป็นการให้เกียรติและเคารพผู้เสียชีวิตครับ
ขอขอบคุณ: News TrueID , MGR Online