ลายนิ้วมือ

ลายนิ้วมือ (Fingerprint)      ลายนิ้วมือ หรือ Fingerprint คือลายเส้นที่ปรากฎอยู่บนผิวหนังด้านหน้าของนิ้วมือ และเป็นสื่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์บุคคลได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าเจ้าของลายนิ้วมือจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตามแต่ ซึ่งลายนิ้วมือนั้นมีลักษณะที่ความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ทำให้ลายนิ้วมือของทุกคนบนโลกนั้นไม่ซ้ำกันเลยและจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม แต่ทว่าลายนิ้วมือกลับเป็นตัวลดผิวสัมผัสระหว่างนิ้วมือกับวัตถุ ทำให้เกิดความลื่นแทนที่จะช่วยให้หยิบจับได้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น ในบทความนี้คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับลายนิ้วมือ แบ่งออกได้กี่ชนิด มีกี่ประเภท และประโยชน์ของลายนิ้วมือครับ ขอขอบคุณภาพจาก 1belief.com เส้นลายนิ้วมือ      เส้นลายนิ้วมือ ประกอบด้วยลักษณะเส้น 2 ชนิด เส้นนูน หรือสันลายนิ้วมือ (Ridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นนูนโค้งที่ยกสูงกว่าพื้นผิวหน้านิ้วมือ บริเวณดังกล่าวนิยมใช้เก็บเป็นหลักฐานแสดงเอกลักษณ์บุคคลด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อประทับพื้นผิวหน้านิ้วมือที่เปียกหมึกลงบนกระดาษจะปรากฏเส้นนูนให้เห็นชัดเจน ร่องลายนิ้วมือ (Furrow) มีลักษณะเป็นร่องสีขาวสลับอยู่ระหว่างเส้นนูน ไม่ปรากฏให้เห็นเมื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลต้องใช้ลักษณะเส้นทั้ง 2 ชนิดประกอบกันจึงจะได้เส้นลายนิ้วมือที่สามารถบ่งชี้เจ้าของลายนิ้วมือได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องแม่นยำ ขอขอบคุณภาพจาก 1belief.com รูปแบบเส้นนูนของลายนิ้วมือ      นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกรูปแบบลายนิ้วมือที่เป็นชนิดเส้นนูนออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ ก้นหอยธรรมดา (plain whorl) เป็นลักษณะลายนิ้วมือที่พบได้ประมาณ 25-35% […]

เช็ก 5 “ภัยออนไลน์” หน้าร้อน

ภัยออนไลน์ หน้าร้อน

ตำรวจเตือน 5 ‘ภัยออนไลน์’ หน้าร้อน โจรออนไลน์ มักใช้ออกอุบาย หลอกเหยื่อ      ปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องมือสมาร์ทโฟน ได้ง่ายขึ้น ทำให้ภัยเงียบที่แอบซ่อนมา และเข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย อย่างที่ไม่ทันได้ตระหนักถึงอันตราย คือ “ภัยออนไลน์”  เพราะเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพ ฉวยโอกาส หลอกล้วงข้อมูลส่วนตัวของเราไปได้ง่ายๆ หรือบางครั้ง เราอาจกลายเป็นผู้กระทำผิดโดยไม่รู้ตัว      พ.ต.ท.หญิง ดร.ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันโจรออนไลน์ มักจะออกอุบายตามเทศกาลวันสำคัญตามประเพณี โดยเฉพาะ ในช่วง “หน้าร้อน” จึงอยากเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพ ใช้โอกาสเทศกาล “สงกรานต์ 2566” ออกอุบายหลอกลวงออนไลน์ 5 ประเภท ดังนี้ “หลอกขายแอร์ พัดลม เครื่องฟอกอากาศ” หลอกให้โอนเงินก่อน แต่ไม่จัดส่งสินค้า หรือส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง แต่เป็นสินค้าปลอม ไม่ตรงปก คุณภาพต่ำ “หลอกขายทัวร์ท่องเที่ยวทิพย์” หลอกลวงขายตั๋วทัวร์ในประเทศ/ต่างประเทศ ให้โอนเงินแล้วเงียบหายติดต่อไม่ได้ […]

“ฮีทสโตรก” ภัยร้ายหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต

ฮีทสโตรก

ฮีทสโตรก ภัยร้านหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต      ในช่วงอากาศที่เริ่มร้อนอบอ้าวในช่วงที่ผ่านมานี้ ทำเอาหลายๆ คนถูกส่งโรงพยาบาลด้วยอาการ “โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นกับ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม “เอ๋” ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ก็เกิดภาวะดังกล่าวจนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลบุรีรัมย์ หลังมีอาการหมดสติ ขณะซ้อมแข่งขันรถยนต์ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต      ในบทความวันนี้ทางคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จะพาทุกไปรู้จักกับ “โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง และหากเกิดขึ้นกับตัวเรา หรือคนใกล้ตัวจะมีวิธีรักษาอย่างไร รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ ”ฮีทสโตรก” สาเหตุของโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก      โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป เกิดจากการสัมผัสกับอากาศที่ร้อนจัดหรือการออกกำลังกายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ โดยอาการอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาล่าช้าอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ อาการของโรคลมแดด หรือ […]

“เงินบริจาค” แบบไหนเข้าข่าย ความผิดการฟอกเงิน

ประเด็น ‘เงินบริจาค’ ของ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กลายเป็นประเด็นร้อน      กำลังเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อน ภายหลัง ‘ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์’ ยอมรับว่า นำเงินจำนวน 6 ล้านบาท ที่ได้มาจาก ‘สารวัตรซัว‘ ตามที่ ‘ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด’ ออกมาแฉ ไปบริจาคให้โรงพยาบาลสองแห่ง แห่งละ 3 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด โรงพยาบาลศิริราช แถลงข่าวขอคืนเงินบริจาค 3 ล้านบาทให้ ‘ชูวิทย์’ หลังทราบว่าไม่ใช่เงินของเจ้าตัว และมีส่วนเกี่ยวข้องธุรกิจผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีความผิดได้      หากพูดถึง ‘การบริจาค’ นับเป็นเรื่องปกติ ที่ใครก็สามารถที่จะบริจาคเงิน หรือสิ่งของ ให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้ ตามที่ พ.ร.บ. ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 กำหนด แต่หากเป็นเงิน หรือ สิ่งของ ที่ผิดกฎหมาย […]

พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์ มีผลแล้ว เปิดบัญชีม้ามีโทษหนัก คุก 2-5 ปี

พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์

ดีอีเอส จับมือ 6 หน่วยงาน แก้ปัญหาบัญชีม้า เจอโทษหนัก 2-5 ปี ปรับ 2-5 แสนบาท      พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปราบอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (17 มีนาคม 2566) เป็นต้นไป โดยพระราชกำหนดนี้ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และในแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจำนวนมาก มีมูลค่าความเสียหายสูงมาก รวมถึงเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยของสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ      กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจธนาคารเพื่อระงับการทำธุรกรรมของบัญชีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไว้ได้ทันทีที่ผู้เสียหายแจ้งธนาคารและผู้เสียหายต้องแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมงโดยสามารถแจ้งความได้ทุกท้องที่ และเจ้าพนักงานแจ้งให้ระงับบัญชีต่อไป 7 วัน      ปัญหาใหญ่ของการบล็อคบัญชีม้าในการโอนเงินคือคนร้ายมักใช้บัญชีจำนวนมาก แล้วโอนต่อกันเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ กฎหมายนี้เปิดทางให้สามารถบล็อคบัญชีอื่นๆ ที่มีการโอนเป็นทอดๆ ด้วย อย่างไรก็ดีตอนนี้ระบบแชร์ข้อมูลบัญชียังไม่เรียบร้อยทำให้การบล็อคบัญชีที่โอนต่อเป็นทอดๆ ยังใช้เวลาสักระยะ ระบบแชร์ข้อมูลบัญชีน่าจะเปิดใช้งานได้ในไตรมาสที่สามของปีนี้      กฎหมายนี้ยังกำหนดให้การเปิดบัญชีม้า […]

รศ.พ.ต.ท.ดร. กฤษณพงษ์ พูตระกูล วิเคราะห์ยุทธวิธีควบคุมสถานการณ์ สารวัตรคลั่ง

ยุทธวิธี

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงษ์ พูตระกูล วิเคราะห์ยุทธวิธีควบคุมสถานการณ์ สารวัตรคลั่ง      จากเหตุการณ์สารวัตรคลั่ง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร. กฤษณพงษ์ พูตระกูล คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์ถึงยุทธวิธีปฏิบัติสถานการณ์ของสารวัตรคนนี้ ว่า ต้องดูก่อนว่าผู้ก่อเหตุมีอาวุธปืนชนิดใดบ้าง มีกระสุนอยู่จำนวนมากน้อยแค่ไหน สถานที่ที่ผู้ก่อเหตุอยู่เป็นลักษณะใด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ชุดเข้าควบคุมสถานการณ์ และเริ่มขั้นตอนการเจรจาไปพร้อมกับการตรวจสอบประวัติการรักษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่เมื่อเกิดเหตุในลักษณะแบบนี้ และไม่มีตัวประกันก็จะใช้วิธีการจับเป็น เพื่อสอบถามและได้ทราบถึงสาเหตุของการก่อเหตุ      พร้อมกับบอกว่า การที่ผู้ก่อเหตุไม่มีตัวประกันถือว่าเป็นข้อดี ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมสถานการณ์มีเวลาวางแผนเข้าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น การปิดล้อมที่ใช้เป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมงนั้น อาจจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับทางผู้ก่อเหตุ แต่ในทางกลับกันจะเป็นประโยชน์กับเจ้าที่ชุดควบคุม เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานตัวผู้ก่อเหตุเองก็จะมีความเหนื่อยล้า      ทีมข่าว ช่อง 3 ได้สอบถามกับตำรวจที่ประจำอยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูล ถึงยุทธวิถีการเข้าควบคุมสถานการณ์คนคุ้มคลั่งกราดยิงแบบนี้ ว่า ในกรณีที่ผู้ก่อเหตุไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น ปิดขังตัวเองอยู่ภายในที่พักหรือสถานที่ปิด ถือว่าเป็นสถานที่ที่ผู้ก่อเหตุมีสภาพแวดล้อมที่ได้เปรียบกว่าเจ้าหน้าที่ จะใช้ขั้นตอนพื้นฐานจะเริ่มจากการปิดล้อมพื้นที่ เคลียร์พื้นที่ เคลียร์คนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากรอบสถานที่เกิดเหตุ […]

ย้อนรอย “กราดยิง” ถอดบทเรียน อาชีพ ตำรวจ-ทหาร มีผลต่อความเครียด?

ย้อนรอย “กราดยิง” ถอดบทเรียน อาชีพ ตำรวจ-ทหาร มีผลต่อความเครียด?      จากเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ได้มี สารวัตรกานต์ ตำรวจคลั่ง กราดยิง ภายในบ้านพักของตนย่านสายไหม ก่อเหตุนานกว่า 26 ชั่วโมง ถึงแม้ครั้งนี้จะไม่ได้เกิดความสูญเสียเหมือนเหตุการณ์อื่นๆ อย่าง กราดยิงโคราช หรือ กราดยิงหนองบัวลำภู แต่เรื่องราวเหล่านี้จะต้องถูกตั้งคำถามขึ้นว่า เหตุการณ์แบบนี้ทำไมแนวโน้มส่วนใหญ่ถึงเป็น ตำรวจ หรือ ทหาร ทั้งๆ ที่เหตุความรุนแรงจากการทำร้ายผู้อื่นด้วยปืนในประเทศไทยไม่ได้เยอะเท่าประเทศอื่น      ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตเห็นว่า เหตุกราดยิงน่าจะเกิดจากความเครียดสะสม ส่งผลให้ส่วนใหญ่มีปัญหาทางจิต และการเข้าถึงอาวุธปืนได้ง่าย คำถามจึงย้อนกลับไปที่มาตรฐานหน่วยงาน การป้องกัน และดูแลไม่ให้กำลังพลที่เผชิญสภาวะความเครียด ออกไปก่อเหตุอาชญากรรมกับผู้บริสุทธิ์ ทำไมยังแก้ไม่ได้? กราดยิงหนองบัวลำภู -BBC ย้อนเหตุการณ์เหตุการยิง 8 กุมภาพันธ์ 2563 เหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญ ที่หลายคนคงจำได้ไม่ลืม กับเหตุ “กราดยิงโคราช” กรณี “จ่าคลั่ง” […]

“ปฏิรูปตำรวจ” ปฏิรูป หรือ ปฏิลวง?

เสวนา “ปฏิรูปตำรวจ” ปฏิรูป หรือ ปฏิลวง?      วันที่ 10 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเสวนา “ปฏิรูปตำรวจ” ปฏิรูป หรือ ปฏิลวง? ที่จัดตั้งโดย คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง ภาคประชาชน นายวิทยา แก้วภารดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ  รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฯ และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายแทนคุณ จิตต์อิสระ พรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ พรรคไทยสร้างไทย      นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง ได้เสนอแนวทางการปฏิรูปตำรวจว่า ควรทำให้องค์กรตำรวจเล็กลง ตัดตำรวจที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง […]

เปิดโทษ “ปลอมบัตรประชาชน” มีความผิด จำคุก 10 ปี

เปิดโทษบัตรปชช.ปลอม

เปิดโทษ ‘ปลอมบัตรประชาชน’ มีความผิด จำคุก 10 ปี      จากกรณี นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง สั่งให้มีการตรวจสอบ บุคคลตามภาพถ่ายที่ปรากฏว่ามีบัตรประชาชนหลายใบและมีชื่อที่แตกต่างกันถึง 7 ใบ ที่จังหวัดกาญจนบุรี และเจ้าตัวได้เดินทางมา ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองยืนยันความบริสุทธิ์ใจถูกปลอมแปลงบัตรประชาชน และยันเป็นผู้เสียหาย ถูกนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้หลังจากสมัครแอปเงินกู้ออนไลน์ แต่เงินกู้ไม่ได้แถมยังถูกนำบัตรไปปลอมแปลงก่อคดีหลอกลวงประชาชนอีกนับสิบคดี ประกาศการพบการปลอมแปลงบัตรประชาชน ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย      สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการโทษของการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชน ตามที่มีการระบุเนื้อหาข้อมูลของ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526  โดยได้ระบุความผิดที่เกี่ยวกับบัตรประชาชน ดังนี้ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แล้วไม่ทำบัตรประชาชน ปรับไม่เกิน 100 บาท หรืออายุ 15 ปีขึ้นไป แล้วไม่พกบัตรประชาชน ปรับไม่เกิน 200 บาท เปิดเผยข้อมูลในบัตรบัตรประชาชนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 […]

ป่วยทางจิต ทำผิดกฎหมาย ลงโทษ-คุ้มครอง?

กฎหมายเกี่ยวกับคนที่มีอาการ “จิต” ไม่ปกติ คุ้มครองประชาชนถึงขั้นไหน “หงายการ์ด” ภาวะจิตใจ ไม่ต้องรับโทษทางอาญาจริงหรือไม่      ในบทความนี้ทางคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จะพาทุกคนไปไขข้อประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับคนที่มีอาการ ”จิต” ไม่ปกติ ที่มีการคุ้มครองประชาชนถึงขั้นไหน และจริงหรือไม่ที่ผู้ป่วยจิตไม่ปกติไม่ต้องรับโทษทางอาญา ซึ่งทางทีมข่าวอาชญากรรม ของเดลินิวส์ได้ไขข้อสงสัยกับ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน อ้างเป็นผู้ป่วยทางจิตไม่ต้องรับโทษ?      สำหรับบุคคลที่มีเหตุควรเชื่อว่า “ผู้ต้องหา” หรือ “จำเลย” เป็น “ผู้วิกลจริต” และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล สั่งให้แพทย์ตรวจ แล้วแจ้งผล      หากเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้จริง ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริต จากนั้นจะส่งตัวไปรักษา ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน นิยามคนที่มีอาการป่วยทางจิต ผู้วิกลจริต […]