4ข้อ ง่ายๆป้องกันการหลอกลวงจาก Call center

4 ข้อง่ายๆ ป้องกันการหลอกลวงจาก Call center มหาภัย การหลอกลวงของ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” เกิดขึ้นบ่อยในสังคมขณะนี้ โดยมักจะใช้วิธีการอ้างว่าเป็น Call center บริษัทขนส่งต่างๆ หลอกให้เหยื่อหลงกลและโอนเงินหรือดูดเงินออกไปจากบัญชีมีผู้เสียหายหลายราย และแก๊งคอลเซ็นยังหลอกเหยื่อโดยสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง วันนี้เรามีวิธีป้องกันง่ายๆมาฝาก 1.มีสติ ไม่หลงเชื่อ มิจฉาชีพมักจะใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุลของเหยื่อ ในการสร้างความตื่นตระหนกและการเร่งเร้า ข่มขู่ให้รีบโอนเงิน ไม่เช่นนั้นจะแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินคดี ให้ตั้งสติ พิจารณาและตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าในช่วงที่ผ่านมา มีการซื้อสินค้าหรือทำธุรกรรมหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ 2.หากไม่แน่ใจ ควรหยุดสนทนาและวางสาย เมื่อไม่แน่ใจว่า ข้อมูลที่กล่าวอ้างจากมิจฉาชีพเป็นความจริงหรือไม่ ให้รีบวางสาย เพื่อตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือ บุคคลใกล้ชิด 3.ติดต่อหน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้างโดยตรง หากปลายสาย (มิจฉาชีพ) อ้างถึงบริษัทขนส่ง ให้ติดต่อกับบริษัทโดยตรงสอบถามข้อมูลทันที เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการหลอกลวงหรือไม่ 4.กรณีข้อมูลรั่วไหล เช่น รหัสผ่าน ให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที เพราะการที่มิจฉาชีพได้ข้อมูลเหยื่อมานั้น อาจเกิดจากการสุ่มหาใน Social Media และทำการแฮกรหัสผ่านบัญชี จนได้ข้อมูลส่วนตัวไป จึงควรรีบเปลี่ยนรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยาก อ้างอิงข้อมูล […]

“การใช้ความรุนแรงในเด็ก”

ลักษณะของการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก… องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งประเภทการกระทำที่เข้าข่ายการใช้ความรุนแรงต่อเด็กไว้ 4 ประเภท ดังนี้ การทำร้ายร่างกาย (Physical Abuse) คือ การทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น ทุบ ตบตี หยิก เตะ ใช้น้ำร้อนหรือไฟลวกที่ตัวเด็ก โดยผู้กระทำตั้งใจทำ ไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การทำร้ายจิตใจ (Emotional Abuse) เช่น การใช้คำพูดดุด่า ดูถูก ข่มขู่ คุกคาม รวมทั้งการกระทำที่ทำให้เด็กรู้สึกอับอาย กลัว และเมินเฉยต่อความต้องการของเด็ก ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กในอนาคต การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse) เช่น การเปิดอวัยวะเพศหรือช่วยตัวเองให้เด็กดู การให้เด็กดูภาพหรือวิดีโอโป๊ การสัมผัสร่างกายเด็ก การสอดใส่อวัยวะเพศหรือสิ่งของอย่างอื่นทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนักของเด็กโดยที่เด็กไม่ยินยอม การค้าประเวณีเด็ก  การทอดทิ้ง (Neglect) คือ การที่ผู้ดูแลไม่เอาใจใส่เกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเด็ก เช่น อาหาร เสื้อผ้า การศึกษา สุขอนามัย ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เช็กอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก เนื่องจากเด็กที่เป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงอาจไม่กล้าบอกใครว่าตนเองถูกทำร้าย เนื่องจากกลัวว่าจะไม่มีใครเชื่อหรือถูกข่มขู่ว่าจะทำร้ายหากบอกคนอื่น […]

แก้ไขอย่างไรดีเมื่อโดนก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

แก้ไขอย่างไรดีเมื่อโดนก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์      อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาที่น่าวิตกและมีความซับซ้อนในตัวเอง ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดกับเราหรือไม่ และหากเกิดขึ้นเราควรจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ในวันนี้เราทุกคนใช้อุปกรณ์ Smart Device ต่าง ๆ ออนไลน์กับทุกกับเรื่องตามไลฟ์สไตล์ของเรา ตั้งแต่เรื่องงาน การทำธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเอง นั่นก็หมายความว่าข้อมูลมากมายที่ออนไลน์อยู่นั้นอาจไม่ได้มีความเป็นส่วนตัวเสมอไป มีโอกาสและความเสี่ยงไม่น้อยที่จะถูกผู้ไม่หวังดีทำการขโมยเอาข้อมูลระบุตัวตนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องงานขององค์กร ปัจจุบันมีบริษัทหลายแห่งที่ประสบปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีการ Hack คอมพิวเตอร์ขององค์กรเพื่อขโมยเอาข้อมูลความลับของบริษัท หรือข้อมูลลับทางการค้าไปขายในตลาดมืดให้กับบริษัทคู่แข่ง หากคุณและองค์กรของคุณมีโอกาสที่จะเจอกับปัญหาแบบนี้ คำถามก็คือควรจะรับมืออย่างไรดี รับมือกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ควรเริ่มต้นจากการป้องกัน      อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่หากเกิดขึ้นแล้ว โอกาสจะแก้ไขเหมือนให้ไม่เคยเกิดขึ้นเลยนั้นเป็นไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดของการแก้ไขปัญหานี้ ก็ควรเริ่มต้นที่การป้องกัน สำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ สิ่งที่ต้องทำกับคอมพิวเตอร์ทุกขนาดในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ Serverหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ก็คือ  1.Backup ข้อมูลสำคัญๆอยู่เสมอ วิธีนี้หากเราโดน Hack ข้อมูลจะได้ไม่หายไป ระยะเวลาหรือความถี่ในการ Backup นั้น แต่ละที่อาจจะแตกต่างกันไป หากเป็นไปได้ก็ควรทำอย่างน้อย เดือนละครั้ง และแนะนำว่าควรทำการสำรองข้อมูลขององค์กรออกเป็น 3 ชุด แบ่งเก็บไว้ทั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและเก็บไว้บนCloud 2.ระวังทุกครั้งเมื่อใช้ Email หากคุณไม่รู้จักผู้ที่ส่งอีเมล์นั้นมาก็ให้เลี่ยงการเปิดอีเมล์ หรือการคลิก link ต่าง ๆ ที่แนบมากับอีเมล์ […]

“5 อาชญากรรมการเงินบนโลกออนไลน์และวิธีป้องกัน”

“5 อาชญากรรมการเงินบนโลกออนไลน์และวิธีป้องกัน”      ปัจจุบันการก่ออาชญากรรมทางการเงินมีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก พวกมิจฉาชีพจะหาโอกาสและหาช่องโหว่ทางเทคโนโลยี เราจึงต้องรู้เท่าทันและรู้จักวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพซึ่งมิจฉาชีพได้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการโจรกรรมทรัพย์สินผ่านวิธีการต่างๆเหล่านี้ 1.Call Center หลอกให้โอนเงิน      เหล่ามิจฉาชีพจะใช้วิธีสุ่มเบอร์โทรศัพท์ไปหาเหยื่อและแจ้งข่าวลวงเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งข้ออ้างที่ใช้บ่อยๆก็จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากถูกอายัดบ้าง บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงินบ้าง อ้างตัวเป็นสรรพากรบ้าง เป็นต้น 2.โจรกรรมผ่าน Mobile Banking หรือ Internet Banking      ขโมยข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในบัญชีของเราเพื่อต่างๆและสวมรอยเป็นเจ้าของบัญชีการโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ 3.สร้างตัวตนปลอมใน Social Network      แอบอ้างเป็นเจ้าของ Social Network หรือเจ้าของบัญชีหลอกลวงเพื่อนฝูงและญาติๆให้โอนเงินให้ หรือสร้างตัวตนปลอมให้มีโปรไฟล์ดีๆ หลอกคนอื่นในเชิงชู้สาวและหลอกให้โอนเงินให้ 4.ขโมยหรือปลอมแปลงบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม      โดยคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กด้วยเครื่องสกิมเมอร์แล้วทำบัตรปลอมเพื่อไปถอนเงินหรือใช้วงเงินสินเชื่อของเหยื่อ 5.E-mail Scam      มักเกิดกับคนที่ค้าขายระหว่างประเทศโดยมิจฉาชีพจะเข้าไปแฮ็คข้อมูลจากอีเมลของบริษัทและเปลี่ยนเลขบัญชีธนาคารหรือให้ลูกค้าติดต่อกับอีเมลใหม่ วิธีป้องกันแก๊งโจรกรรมผ่านโลกออนไลน์ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนที่ไม่รู้จักและถ้าถูกบอกให้โอนเงิน ต้องตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่อ้างถึงโดยตรงหรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213 ห้ามจดรหัสบัตรเอทีเอ็มไว้ที่บัตรเด็ดขาดและหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเอทีเอ็มกับตู้ที่ห่างไกลจากชุมชน หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในร้านค้าที่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมและการทำรายการบัตรเครดิตต้องอยู่ในสายตาตลอดเวลา ไม่ให้เอกสาร ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินแก่คนอื่นง่ายๆ […]