พรากผู้เยาว์ คือต่ำกว่า 18 จริงหรือ?
วันที่ 20 กันยายนของทุกปี ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ และได้ให้ความสำคัญกับอนาคตของชาติ โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในบทความนี้คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจในเรื่องของพรากผู้เยาว์ คือต่ำกว่า 18 หรือไม่ และ เด็ก กับ เยาว์ชน มีความแตกต่างกันตรงไหนครับ
ความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์
หมายถึง การพาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา
เนื่องด้วยในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้บิดามารดาต้องออกจากบ้านไปทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูบุตรและจุนเจือครอบครัว ทำให้เวลาที่จะดูแล สั่งสอนหรือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างบิดามารดาและบุตรซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนมีค่อนข้างน้อย
ประกอบกับสื่อเทคโนโลยีในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็มีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ ในส่วนสื่อที่เป็นโทษโดยเฉพาะสื่อลามกอนาจาร สื่อลามกอนาจารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เด็กหรือผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรกันโดยง่าย ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมาย
คดีความผิดเกี่ยวกับเพศและความผิดฐานพรากผู้เยาว์ขึ้นมาสู่ศาลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อ
- ข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา 276
- พาไปเพื่อการอนาจาร 283 ทวิ วรรคแรก
- พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย 319 วรรคแรก
ซึ่งมักจะเจรจาตกลงกันได้ บางรายก็อยู่กินฉันสามีภริยากันแล้ว ไม่ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน บางรายก็เจรจาตกลงค่าเสียหายกันได้ ฝ่ายผู้เสียหายจึงไม่ประสงค์ให้ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยต้องรับโทษจำคุก ในความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 วรรคแรก, 283 ทวิ วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้
ขอขอบคุณ: Lovecarestation / www.closelawyer.com / https://jvnc.coj.go.th/