ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น เพราะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้กับชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก แต่สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนั้นก็คือเรื่องของ อาชญากรรมทางไซเบอร์ หรือ Cyber Crime ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจ รวมไปถึงปัจเจกบุคคลอีกด้วยครับ วันนี้คณะอาชญาวิทยาฯ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักภัยร้ายจากเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมฉ้อโกงในรูปแบบไหนบ้าง แนวทางการป้องกันไม่ให้ตัวเราหรือคนใกล้ตัว ตกเป็นเหยื่อครับ
อาชญากรรมทางไซเบอร์ หรือ Cyber Crime หมายถึงการทุจริตหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ตและช่องทางออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
ปัจจุบัน อาชญากรรมทางไซเบอร์กลายเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของทุกประเทศ สำหรับประเทศไทย สถิติอันน่าตกใจจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อเดือนมีนาคม 2565 เผยว่า ชาวไทยกว่า 50% เคยมีประสบการณ์ถูกหลอกลวงทางออนไลน์ระหว่างช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดย 2 ใน 5 คน หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยเกิดความเสียหายเฉลี่ยประมาณ 2,400 บาทต่อคนเลยทีเดียว
นับตั้งแต่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้คนทั่วโลกตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชญากรรมทางไซเบอร์ก็พัฒนาจนมีหลากหลายรูปแบบและซับซ้อนยิ่งขึ้นตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเช่นกัน โดยภัยออนไลน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหา ได้แก่
Cyber Crime ประเภทนี้ เป้าหมายของคนร้ายคือการทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ยกตัวอย่าง เช่น การปล่อยโปรแกรมที่เป็นไวรัสเข้ามาทำลายไฟล์ข้อมูลสำคัญ ๆ ในเครื่องเพื่อเรียกค่าไถ่ หรือการหลอกให้เราดาวน์โหลด Trojan ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ดูผิวเผินก็ปกติและปลอดภัยดี แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นโปรแกรมอันตรายที่สามารถปล่อยให้คนร้ายเข้ามาควบคุมเครื่องและขโมยข้อมูลส่วนตัวได้ ในปัจจุบันเราก็จะได้พบเจอข่าวในส่วนของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกหลวงประชาชนให้โอนเงินในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นหน่วยงานสรรมพากร หลอกให้โหลดแอปฯ ปลอม (.APK) เป็นต้น
สำหรับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ การเก็บบันทึก Back Up ข้อมูลที่สำคัญของบริษัทเป็นประจำ หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้กู้คืนกลับมาอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังควรหมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมถึงจัดอบรมฝึกสอนพนักงานให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ เช่น วิธีสังเกตว่าอีเมลใดเข้าข่ายเป็นกลลวงแบบ Phishing นอกจากนี้ยังอาจลองพิจารณาทำประกันความเสียหายจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ เป็นต้น
สำหรับประชาชนแนะนำให้ หมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน พยายามตั้งพาสเวิร์ดที่คาดเดาได้ยากและหลีกเลี่ยงการใช้พาสเวิร์ดซ้ำกับการทำธุรกรรมต่างๆ อย่าแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ ไม่หลงเชื่อหรือคลิกลิงก์อะไรง่ายๆ เป็นต้น