มูลนิธิ

ขั้นตอนการจดทะเบียน มูลนิธิ ให้ถูกต้องไม่กลายเป็นมูลนิธิเถื่อนเหมือน "มูลนิธิเป็นต่อ"

     ชื่อของสารวัตซัวถูกพูดถึงเป็นอย่างมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา หลังจากคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ได้ออกมาแฉเรื่องการเปิดเว็บพนันออนไลน์ ล่าสุดยังพบว่าการจัดตั้ง “เป็นต่อกรุ๊ป” เป็นมูลนิธิเถื่อนที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาติ หลายคนอาจจะสงสัยว่าการจัดตั้ง “มูลนิธิ” ขึ้นมาสักแห่งนั้นจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้เป็นเหมือนกับมูลนิธิเถื่อนเหมือนกัน มูลนิธิเป็นต่อ ของ สารวัตรซัว

มูลนิธิ คืออะไร?

     “มูลนิธิ” ถือว่าเป็นนิติบุคคลอีกรูปแบบหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและอาญาและนิติบุคคลเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งได้รับมาโดยการจัดสรรให้เป็นของมูลนิธิหรือได้รับริจาคเพิ่มเติมในภายหลัง โดยวัตถุประสงค์และการดำเนินงานของมูลนิธิ ต้องเป็นไปเพื่อการกุศล สาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์  โดยไม่ได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน คณะกรรมการจะต้องควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับทีกำหนดไว้  โดยเป็นการ นำเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็นกองทุน เพื่อทำกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของการจัดตั้งมูลนิธิ

มูลนิธิ

การจดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิ" เพื่อไม่ให้มูลนิธิกลายเป็นมูลนิธิเถื่อน

     หลักเกณฑ์การจัดตั้งมูลนิธิ กองทุนที่เป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่น ในจำนวนนั้นต้องมีเงินสดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 250,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท

     หากเป็นการจัดตั้ง มูลนิธิ ขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐจะได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็น กองทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท ซึ่งในกรณีที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่ด้วยจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาทซึ่งเมื่อรวมเงินสดและทรัพย์สินอย่างอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท

การจดทะเบียนมูลนิธิ จะต้องดำเนินการดังนี้

  1. คณะกรรมการที่เป็นบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิโดยจัดเตรียม รายชื่อ อายุ ที่อยู่ อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ ตำหน่งของกรรมการทุกคน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการทุกท่าน
  2. สำเนาพินัยกรรมในกรณีที่ขอทำการจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิ
  3. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม หรือหลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันในกรณีที่ บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าวหรือพระภิกษุ
  4. แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง รวมทั้งต้องแสดงหนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่
  5. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งมูลนิธิ จากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง พร้อมแนบเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครองของ ผู้อนุญาต ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ใบอนุญาตก่อสร้าง โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายที่ระบุหมายเลขประจำบ้าน เป็นต้น

ขั้นตอนการขอจัดตั้งมูลนิธิ

  1. ดำเนินการยื่นแบบคำขอ พร้อมเอกสารประกอบตามที่ราชการกำหนดที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ
  2. สำนักงานเขตตรวจสอบเอกสารได้รับคำขอการจัดตั้ง จะดำเนินการตรวจสอบ
    ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและข้อบังคับ
    ตรวจสอบวัตถุประสงค์ การจัดตั้งว่าขัดต่อหลักจริยธรรมหรือไม่
    ตรวจสอบประวัติผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการ โดยจะต้องมีฐานะและความประพฤติที่เหมาะสม
  3. สำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารก่อน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน
  4. หลังจากนายทะเบียนรับผิดชอบจดทะเบียน และจะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศรับจดทะเบียนมูลนิธิ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบเพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ

ขอขอบคุณ: คมชัดลึก

Contact

โทรศัพท์ : 029972200 ต่อ 1283
โทรสาร : 029972200 ต่อ 1216
อีเมล : cjarsu@gmail.com

Address

มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000