“5 อาชญากรรมการเงินบนโลกออนไลน์และวิธีป้องกัน”

     ปัจจุบันการก่ออาชญากรรมทางการเงินมีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก พวกมิจฉาชีพจะหาโอกาสและหาช่องโหว่ทางเทคโนโลยี เราจึงต้องรู้เท่าทันและรู้จักวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพซึ่งมิจฉาชีพได้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการโจรกรรมทรัพย์สินผ่านวิธีการต่างๆเหล่านี้

1.Call Center หลอกให้โอนเงิน

     เหล่ามิจฉาชีพจะใช้วิธีสุ่มเบอร์โทรศัพท์ไปหาเหยื่อและแจ้งข่าวลวงเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งข้ออ้างที่ใช้บ่อยๆก็จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากถูกอายัดบ้าง บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงินบ้าง อ้างตัวเป็นสรรพากรบ้าง เป็นต้น

2.โจรกรรมผ่าน Mobile Banking หรือ Internet Banking

     ขโมยข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในบัญชีของเราเพื่อต่างๆและสวมรอยเป็นเจ้าของบัญชีการโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ

3.สร้างตัวตนปลอมใน Social Network

     แอบอ้างเป็นเจ้าของ Social Network หรือเจ้าของบัญชีหลอกลวงเพื่อนฝูงและญาติๆให้โอนเงินให้ หรือสร้างตัวตนปลอมให้มีโปรไฟล์ดีๆ หลอกคนอื่นในเชิงชู้สาวและหลอกให้โอนเงินให้

4.ขโมยหรือปลอมแปลงบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม

     โดยคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กด้วยเครื่องสกิมเมอร์แล้วทำบัตรปลอมเพื่อไปถอนเงินหรือใช้วงเงินสินเชื่อของเหยื่อ

5.E-mail Scam

     มักเกิดกับคนที่ค้าขายระหว่างประเทศโดยมิจฉาชีพจะเข้าไปแฮ็คข้อมูลจากอีเมลของบริษัทและเปลี่ยนเลขบัญชีธนาคารหรือให้ลูกค้าติดต่อกับอีเมลใหม่

วิธีป้องกันแก๊งโจรกรรมผ่านโลกออนไลน์

  1. อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนที่ไม่รู้จักและถ้าถูกบอกให้โอนเงิน ต้องตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่อ้างถึงโดยตรงหรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213
  2. ห้ามจดรหัสบัตรเอทีเอ็มไว้ที่บัตรเด็ดขาดและหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเอทีเอ็มกับตู้ที่ห่างไกลจากชุมชน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในร้านค้าที่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมและการทำรายการบัตรเครดิตต้องอยู่ในสายตาตลอดเวลา
  4. ไม่ให้เอกสาร ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินแก่คนอื่นง่ายๆ เช่น User ID Password และบัตรประชาชน
  5. ระวังการใช้อีเมล ถ้าอีเมลไหนไม่ได้ใช้นานควรปิดบัญชี
  6. เปิดเผยข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเท่าที่จำเป็น ตั้งรหัสผ่านที่เข้าถึงยากและเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เสมอ

ขอขอบคุณ : Home Buyers

Contact

โทรศัพท์ : 029972222
โทรสาร : 029972200 ต่อ 1216
อีเมล : cjarsu@gmail.com

Address

มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

 

Follow us