หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
Master of Arts Programin Criminology and Justice Administration
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Arts Program in Criminology and Justice Administration
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.A. (Criminology and Justice Administration)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- ประมาณ 200,000 บาท
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ระบบการศึกษา
- ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติใน 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทำการสอนนอกเวลาราชการ เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี
หลักฐานการสมัคร
- สำเนาการศึกษา (Transcript) 1 ชุด
- สำเนาปริญญาบัตร 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
- หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ตัวจริง 1 ชุด
- รูปถ่ายสี 1 นิ้ว 8 รูป (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
เกี่ยวกับสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
ปรัชญา
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ การประยุกต์และบูรณการศาสตร์ทางด้านอาชญาวิทยา เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และนำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ควบคู่กับการเน้นการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
- เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอาชญาวิทยาให้เป็นการศึกษาแบบสหวิทยาการสำหรับเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในระดับที่สูงขึ้น
- เพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการและเป็นขุมปัญญาให้แก่สังคมไทยในการจัดการกับปัญหาอาชญากรรม และการสร้างกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็ง
จำนวนหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
2) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
2) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
4) การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
5) การสอบประมวลความรู้ 0 หน่วยกิต
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ตามข้อกำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐานทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และจะต้องลงทะเบียนรายวิชาเสริมพื้นฐานอื่น ๆ ตามความเห็นของผู้อำนวยการหลักสูตรหรือคณะกรรมการหลักสูตร โดยพิจารณาจากใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาและผลการสอบคัดเลือก และไม่นับรวมเป็นหน่วยกิตของหลักสูตร ส่วนการวัดผลรายวิชาเสริมพื้นฐานในระบบ S/U (พอใจ/ไม่พอใจ) มีดังต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ENL 500 | ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3(3–0–6) |
หมวดวิชาบังคับ
นักศึกษา แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต ดังรายวิชาต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต 18 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
MPC 601 | การบริหารงานยุติธรรม | 3(3–0–6) |
MPC 602 | ทฤษฎีอาชญาวิทยา | 3(3–0–6) |
MPC 603 | สัมมนาปัญหาอาชญากรรมร่วมสมัย | 3(3–0–6) |
MPC 604 | นิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม | 3(3–0–6) |
MPC 605 | วิธีวิทยาการวิจัยและสถิติ | 3(3–0–6) |
MPC 620 | ปัญหาอาชญากรรมและนโยบายทางอาญา | 3(3–0–6) |
หมวดวิชาเลือก
แผน ก แบบ ก2 ให้เลือกจากรายวิชา จำนวน 6 หน่วยกิต และ แผน ข จำนวน 12 หน่วยกิต ดังรายวิชาต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต 6 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก2 (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จำนวนหน่วยกิต 12 หน่วยกิต แผน ข (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
MPC 610 | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และการเมือง | 3(3–0–6) |
MPC 611 | อาชญากรรมองค์กรและอาชญากรรมข้ามชาติ | 3(3–0–6) |
MPC 612 | กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน | 3(3–0–6) |
MPC 613 | ความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) | 3(3–0–6) |
MPC 614 | เหยื่อวิทยา | 3(3–0–6) |
MPC 615 | นวัตกรรมสังคมกับกระบวนการยุติธรรม | 3(3–0–6) |
MPC 616 | อาชญากรรม และสื่อมวลชน | 3(3–0–6) |
MPC 621 | อาชญากรรมไซเบอร์และเทคโนโลยี | 3(3–0–6) |
MPC 622 | การจัดการความปลอดภัย | 3(3–0–6) |
วิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ
แผน ก แบบ ก2
MPC 699 | วิทยานิพนธ์ | 12(0–36–18) |
แผน ข
MPC 697 | การศึกษาค้นคว้าอิสระ | 6(0–18–9) |
MPC 698 | การสอบประมวลความรู้ | 0(0–0-0) |
การรับสมัคร
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 0–2997–2200 ต่อ 4001–4005 หรือ ต่อ 5500-5510
สำนักงานรับนักศึกษา
โทรศัพท์ 0-2997-2200 ต่อ 5500-5510
โทรสาร 0-2997-2394
สำนักงาน สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
ชั้น 3 ห้อง A อาคารอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
โทรศัพท์ 0–2997–2200 ต่อ 1283
โทรสาร 0–2997–2200 ต่อ 1216
e–mail : grad@rsu.ac.th