หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
Doctor of Philosophy Program in Criminology and Justice Administration
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Criminology and Justice Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Criminology and Justice Administration)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- ประมาณ 450,000 บาท
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการสอบที่ได้นับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ระบบการศึกษา
- ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาค การศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทำการสอนนอกเวลาราชการ เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
2.2.1 รูปแบบการเรียน 1.1
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโท และสำเร็จการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือ คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
- มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการยุติธรรมหรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
- ต้องมีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
- ต้องมีการนำเสนอโครงร่างงานดุษฎีนิพนธ์
- เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
2.2.2 รูปแบบการเรียน 2.1
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
- เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
รูปแบบการเรียน 2.2
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
- เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
หมายเหตุ: ผู้ที่มีเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการของหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา
หลักฐานการสมัคร
- สำเนาการศึกษา (Transcript) 1 ชุด
- สำเนาปริญญาบัตร 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
- รูปถ่าย 1 นิ้ว 8 รูป (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ไม่สวมชุดครุย)
เกี่ยวกับสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
ปรัชญา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม เป็นหลักสูตร ที่เน้นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ฐานคติและการวิจัยเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่สำหรับการนำมาใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังมีเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาองค์ความรู้ให้นักศึกษามีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับมาตรฐานสากล เป็นการสร้างบุคลากรทางวิชาการ ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายและสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมไทยให้เป็นที่ศรัทธาของสังคมโดยแท้จริง โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตร จำนวนหน่วยกิต
แบบ 1.1/ แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1 (แบบ 1.1)
1) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2
แบบ 2.1
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
2) หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
4) ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แบบ 2.2
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
2) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
4) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
รายชื่อวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ตามข้อกำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐานทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และจะต้องลงทะเบียนรายวิชาเสริมพื้นฐานอื่นๆ ตามความเห็นของผู้อำนวยการหลักสูตรหรือคณะกรรมการหลักสูตร โดยพิจารณาจากใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาโทของนักศึกษาและผลการสอบคัดเลือก และไม่นับรวมเป็นหน่วยกิตของหลักสูตร ส่วนการวัดผลรายวิชาเสริมพื้นฐานในระบบ S/U (พอใจ/ไม่พอใจ) มีดังต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต(บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
ENL 601 | ภาษาอังกฤษสำหรับเสนอผลงานทางวิชาการ (English for Academic Presentations) |
3(3–0–6) |
หมวดวิชาบังคับ
สำหรับนักศึกษา แบบ 1.1 ไม่มีการศึกษารายวิชา
สำหรับนักศึกษา แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาจำนวน 6 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้
MPC 701 | การวิเคราะห์ และการบูรณาการงานยุติธรรม (Justice Procedure Analysis and Integration) |
3(3–0–6) |
MPC 703 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (Research Methodology in Criminology and Justice Administration) |
3(3–0–6) |
สำหรับนักศึกษา แบบ 2.2 ศึกษารายวิชาจำนวน 15 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้
MPC 701 | การวิเคราะห์ และการบูรณาการงานยุติธรรม (Justice Procedure Analysis and Integration) |
3(3–0–6) |
MPC 703 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (Research Methodology in Criminology and Justice Administration) |
3(3–0–6) |
MPC 602 | ทฤษฎีอาชญาวิทยา (Criminological Theory) |
3(3–0–6) |
MPC 604 | นิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม (Forensic Science in Justice Administration) |
3(3–0–6) |
MPC 620 | ปัญหาอาชญากรรมและนโยบายทางอาญา (Crime Problems and Criminal Policy) |
3(3–0–6) |
หมวดวิชาเลือก
สำหรับนักศึกษา แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาจำนวน 6 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้
สำหรับนักศึกษา แบบ 2.2 ศึกษารายวิชาจำนวน 9 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้
นักศึกษาแบบที่ 2.1 และ 2.2 สามารถเลือกรายวิชา ดังต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต(บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
MPC 704 | การบริหารงานยุติธรรมขั้นสูง (Advanced Criminal Justice Administration) |
3(3–0–6) |
MPC 705 | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และการเมือง (Economic and Political Crimes) |
3(3–0–6) |
MPC 706 | สัมมนาปัญหาอาชญากรรมเฉพาะเรื่อง (Seminar on Specific Crimes) |
3(3–0–6) |
MPC 707 | สัมมนาคุณธรรม และจริยธรรมในกระบวนการยุติธรรม (Seminar on Moral and Ethic of Justice Procedure) |
3(3–0–6) |
MPC 708 | จิตวิทยากับพฤติกรรมอาชญากรรม (Psychology and Criminal Behavior) |
3(3–0–6) |
MPC 709 | อาชญากรรมและสิ่งแวดล้อม (Crime and Environment) |
3(3–0–6) |
MPC 710 | สัมมนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Seminar on Alternative Justice Procedure) |
3(3–0–6) |
MPC 711 | การประยุกต์ใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์อาชญากรรม (Application of Forensic Science in Crime Analysis) |
3(3–0–6) |
MPC 712 | เหยื่อวิทยา (Victimology) | 3(3–0–6) |
MPC 611 | อาชญากรรมองค์กรและอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational and Organized Crime) |
3(3–0–6) |
MPC 612 | กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice) |
3(3–0–6) |
MPC 613 | ความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) |
3(3–0–6) |
MPC 621 | อาชญากรรมไซเบอร์และเทคโนโลยี (Cyber Crime and Technology) |
3(3–0–6) |
ดุษฎีนิพนธ์
จำนวนหน่วยกิต(บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง)
MPC 796 | การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) |
0(0–0-0) |
MPC 798 | ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) (แบบ 1.1) |
48(0-144-72) |
MPC 799 | ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) (แบบ 2.1) |
36(0-108-54) |
MPC 797 | ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) (แบบ 2.2) |
48(0-144-72) |
การรับสมัคร
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 0–2997–2200 ต่อ 4001–4005 หรือ ต่อ 5500-5510
สำนักงานรับนักศึกษา
โทรศัพท์ 0-2997-2200 ต่อ 5500-5510
โทรสาร 0-2997-2394
สำนักงาน คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ชั้น 3 ห้อง 308
ชั้น 3 ห้อง A อาคารอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
โทรศัพท์ 0–2997–2200 ต่อ 1283
โทรสาร 0–2997–2200 ต่อ 1283
e–mail : grad@rsu.ac.th