เป็นปัญหาโลกแตกกับเรื่องของการ จอดรถ หน้าบ้านหรือริมรั้วบ้านตัวเองซึ่งทำให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาทมานักต่อนัก และล่าสุดก็มีข่าวเพื่อนบ้านหัวร้อน ทะเลาะเรื่องที่จอดถึงขั้นเสียชีวิตครับ การจอดรถบนถนนสาธารณะในหมู่บ้าน และหน้าบ้านตัวเอง หลายๆคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นพื้นที่เปล่า ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่มีเจ้าของหรือไม่ แต่ถ้าทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือกีดขวางการจราจร ก็ถือว่ามีความผิด แต่จะผิดมากหรือน้อย และจะแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งบทความในวันนี้ทางคณะอาญาวิทยาฯ จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับเรื่องของการจอดรถหน้าบ้านตัวเองกันครับ
ต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่า พื้นที่หน้าบ้านนั้นไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน แต่เป็นพื้นที่ที่ติดอยู่กับตัวบ้าน ลูกบ้านอื่นจึงยอมให้เจ้าของบ้านนั้นได้ใช้ประโยชน์ก่อน แต่การใช้ประโยชน์นั้นจะต้องไม่ผิดกฎหมาย และไม่ส่งผลกระทบต่อลูกบ้านคนอื่นๆ
นอกจากนี้เจ้าของบ้านยังได้สิทธิ์เพิ่มเติมคือ ช่องประตูที่ขออนุญาตไว้เรียบร้อยแล้วว่าเป็นทางออก โดยจะถูกระบุไว้ว่าเป็นทางสัญจร ซึ่งถือว่าเป็นทางสัญจรสำหรับเจ้าของบ้านคนเดียวครับ
จากข้อมูลของ กระทรวงยุติธรรม ได้มีการชี้แจงข้อกฎหมายเพื่อไขข้อข้องใจ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
ซึ่งกรณีที่เป็นถนนในหมู่บ้าน การจอดรถไว้ริมรั้ว ริมถนนหน้าบ้านตนเอง หรือหน้าประตูเข้าออกบ้านตนเองที่ถือเป็นทางสัญจรสำหรับเจ้าของบ้าน ก็ยังถือว่ามีโอกาสผิดในข้อต่างๆ ได้ หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้
นอกจากปัญหาเรื่องการจอดรถแล้ว บางบ้านก็อาจจะเจอปัญหาการวางกระถางต้นไม้หน้าบ้าน ซึ่งในกรณีของหมู่บ้านจัดสรรมีกฎหมาย ข้อกำหนดที่ครอบคลุม เรียกว่า “ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550” เพราะเมื่อก่อนหมู่บ้านจัดสรรเริ่มต้นมีในกรุงเทพมหานครเป็นที่แรก กล่าวสรุปได้ว่าพื้นที่อันเป็นกรรมสิทธิ์ของเราก็คือตั้งแต่ในส่วนรั้วบ้านเข้ามา ดังนั้นนอกบ้านตั้งแต่บริเวณทางเท้า ถือเป็นพื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์เสมอ บางครั้งนิติบุคคลในหมู่บ้านนั้นจะอนุญาตให้วางกระถางหรือตกแต่งหน้าบ้านได้ แต่หากมีข้อพิพาทขึ้นมา ผู้ที่ตัดสินก็คือศาล และต้องใช้กฎหมายเป็นตัวตัดสิน ฉะนั้นเจ้าของบ้านจะถือว่าคำประกาศของนิติบุคคลนั้นถูกไม่ได้ครับ