หลักสูตรปริญญาโท

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

ปริญญาโท
ปริญญาโท
ปริญญาโท
ปริญญาโท
ปริญญาโท
RSU_01112563-101441
RSU_01112563-101410
RSU_01112563-103102
RSU_01112563-103932
RSU_01112563-104352

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

Master of Arts Programin Criminology and Justice Administration

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Arts Program in Criminology and Justice Administration

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.A. (Criminology and  Justice  Administration)

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

  • ประมาณ 200,000 บาท

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • ผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ระบบการศึกษา

  • ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติใน 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทำการสอนนอกเวลาราชการ เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี

หลักฐานการสมัคร

  1. สำเนาการศึกษา (Transcript) 1 ชุด
  2. สำเนาปริญญาบัตร 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
  5. หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ตัวจริง 1 ชุด
  6. รูปถ่ายสี 1 นิ้ว 8 รูป (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

เกี่ยวกับสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

ปริญญาโท

ปรัชญา

     หลักสูตรนี้มุ่งผลิตมหาบัณฑิต ให้สามารถนำองค์ความรู้ใน “สหวิทยาการ” ทั้งในด้านสังคมวิทยา จิตวิทยา กฎหมาย การเมืองการปกครอง เศรษฐศาสตร์และสื่อสารมวลชนมาบูรณาการ มาใช้ในการควบคุม ป้องกัน บำบัดและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยถ่ายทอดความรู้บนพื้นฐานของแนวคิด ฐานคติ ทฤษฎี ผ่านระบบกระบวนการคิด วิเคราะห์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน ผลักดันให้สังคมได้ตระหนัก เล็งเห็นความสำคัญของอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ นำไปสู่การกำหนดทิศทางวิธีการและมาตรการของการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการยุติธรรมทางหลักและทางเลือก เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นประโยชน์ต่อบุคลากร หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ การประยุกต์และบูรณการศาสตร์ทางด้านอาชญาวิทยา เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และนำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ควบคู่กับการเน้นการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
  3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอาชญาวิทยาให้เป็นการศึกษาแบบสหวิทยาการสำหรับเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในระดับที่สูงขึ้น
  4. เพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการและเป็นขุมปัญญาให้แก่สังคมไทยในการจัดการกับปัญหาอาชญากรรม และการสร้างกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็ง
ปริญญาโท
จำนวนหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก  แบบ ก2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) 

1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

2) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต

4) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

2) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต

4) การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

5) การสอบประมวลความรู้ 0 หน่วยกิต

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

     นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ  ตามข้อกำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐานทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และจะต้องลงทะเบียนรายวิชาเสริมพื้นฐานอื่น ๆ ตามความเห็นของผู้อำนวยการหลักสูตรหรือคณะกรรมการหลักสูตร โดยพิจารณาจากใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาและผลการสอบคัดเลือก และไม่นับรวมเป็นหน่วยกิตของหลักสูตร ส่วนการวัดผลรายวิชาเสริมพื้นฐานในระบบ S/U (พอใจ/ไม่พอใจ) มีดังต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ENL 500

ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
(English for Graduate Studies)

3(306)

หมวดวิชาบังคับ

นักศึกษา แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต   ดังรายวิชาต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต 18 หน่วยกิต  (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

MPC  601

การบริหารงานยุติธรรม
(Justice Administration)

3(306)

MPC  602

ทฤษฎีอาชญาวิทยา
(Criminological Theory)

3(306)

MPC  603

สัมมนาปัญหาอาชญากรรมร่วมสมัย
(
Seminar in Contemporary Crime Issues

3(306)

MPC  604

นิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม
(Forensic Science in  Justice Administration  )

3(306)

MPC  605

วิธีวิทยาการวิจัยและสถิติ
(Research Methodology and Statistics)

3(306)

MPC  620         

ปัญหาอาชญากรรมและนโยบายทางอาญา
(Crime Problems and Criminal Policy)

3(306)

หมวดวิชาเลือก

แผน ก แบบ ก2 ให้เลือกจากรายวิชา จำนวน 6 หน่วยกิต และ แผน ข จำนวน 12 หน่วยกิต ดังรายวิชาต่อไปนี้

จำนวนหน่วยกิต 6 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก2  (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
จำนวนหน่วยกิต 12 หน่วยกิต แผน ข  (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

MPC 610

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และการเมือง
(Economics and Political Crime)

3(306)

MPC  611

อาชญากรรมองค์กรและอาชญากรรมข้ามชาติ
(Transnational and Organized Crime)

3(306)

MPC  612

กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน
(Juvenile Justice)

3(306)

MPC  613

ความรุนแรงในครอบครัว

(Domestic Violence)

3(306)

MPC  614

เหยื่อวิทยา
(Victimology)

3(306)

MPC  615

นวัตกรรมสังคมกับกระบวนการยุติธรรม
(Social Innovation and Criminal Justice Procedure)

3(306)

MPC  616

อาชญากรรม และสื่อมวลชน
(Crime and Mass Media)

3(306)

MPC  621

อาชญากรรมไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Cyber Crime and Technology)

3(306)

MPC  622

การจัดการความปลอดภัย          
(Security Management)

3(306)

วิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ

แผน ก แบบ ก2

MPC 699

วิทยานิพนธ์
(Thesis)

12(03618)

แผน ข

MPC  697

การศึกษาค้นคว้าอิสระ
(Independent Study)

 6(0189)

MPC  698

การสอบประมวลความรู้
(Comprehensive Examination)

0(00-0)

การรับสมัคร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

โทรศัพท์ 029972200 ต่อ 40014005 หรือ ต่อ 5500-5510

สำนักงานรับนักศึกษา

โทรศัพท์ 0-2997-2200 ต่อ 5500-5510
โทรสาร 0-2997-2394

สำนักงาน สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

ชั้น 3 ห้อง A อาคารอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

โทรศัพท์ 029972200 ต่อ 1283
โทรสาร 029972200 ต่อ 1216

email : grad@rsu.ac.th

Contact

โทรศัพท์ : 029972200 ต่อ 1283
โทรสาร : 029972200 ต่อ 1216
อีเมล : cjarsu@gmail.com

Address

มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

 

Follow us