หลักสูตรปริญญาเอก

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

ปริญญาเอก
ปริญญาเอก
ปริญญาเอก
ปริญญาเอก
ปริญญาเอก
RSU_01112563-112152
RSU_01112563-112053
RSU_01112563-112552
RSU_01112563-105957
RSU_01112563-112752

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

Doctor of Philosophy Program in Criminology and Justice Administration

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of  Philosophy (Criminology and  Justice Administration)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Criminology and Justice Administration)

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

  • ประมาณ 450,000 บาท

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการสอบที่ได้นับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ระบบการศึกษา

  • ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาค การศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทำการสอนนอกเวลาราชการ เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

2.2.1 รูปแบบการเรียน 1.1 

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโท และสำเร็จการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือ คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา  และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
  3. มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการยุติธรรมหรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  4. ต้องมีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
  5. ต้องมีการนำเสนอโครงร่างงานดุษฎีนิพนธ์
  1. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

     

2.2.2 รูปแบบการเรียน 2.1

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
  3. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

     

          รูปแบบการเรียน 2.2

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
  3. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หมายเหตุ: ผู้ที่มีเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการของหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา

หลักฐานการสมัคร

  1. สำเนาการศึกษา (Transcript) 1 ชุด
  2. สำเนาปริญญาบัตร 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
  5. รูปถ่าย 1 นิ้ว 8 รูป (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ไม่สวมชุดครุย)

เกี่ยวกับสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

ปรัชญา

     หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม เป็นหลักสูตร ที่เน้นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ฐานคติและการวิจัยเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่สำหรับการนำมาใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังมีเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาองค์ความรู้ให้นักศึกษามีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับมาตรฐานสากล เป็นการสร้างบุคลากรทางวิชาการ ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายและสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมไทยให้เป็นที่ศรัทธาของสังคมโดยแท้จริง โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม

ปริญญาเอก

หลักสูตร  จำนวนหน่วยกิต

แบบ 1.1/ แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1  (แบบ 1.1) 

1) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 2  

แบบ 2.1

1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

2) หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต

4) ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต

แบบ 2.2

1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

2) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต

4) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม)

     นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ตามข้อกำหนดในประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐานทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และจะต้องลงทะเบียนรายวิชาเสริมพื้นฐานอื่นๆ ตามความเห็นของผู้อำนวยการหลักสูตรหรือคณะกรรมการหลักสูตร โดยพิจารณาจากใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาโทของนักศึกษาและผลการสอบคัดเลือก และไม่นับรวมเป็นหน่วยกิตของหลักสูตร ส่วนการวัดผลรายวิชาเสริมพื้นฐานในระบบ S/U (พอใจ/ไม่พอใจ)  มีดังต่อไปนี้

จำนวนหน่วยกิต(บรรยายปฏิบัติศึกษาด้วยตนเอง)

ENL 601 ภาษาอังกฤษสำหรับเสนอผลงานทางวิชาการ
(English for Academic Presentations)
3(306)
หมวดวิชาบังคับ

สำหรับนักศึกษา แบบ 1.1 ไม่มีการศึกษารายวิชา

สำหรับนักศึกษา แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาจำนวน 6 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้

MPC  701 การวิเคราะห์ และการบูรณาการงานยุติธรรม
(Justice Procedure Analysis and Integration)
3(306)
MPC  703 วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
(Research Methodology in Criminology and Justice Administration)
3(306)

สำหรับนักศึกษา แบบ 2.2 ศึกษารายวิชาจำนวน 15 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้

MPC  701 การวิเคราะห์ และการบูรณาการงานยุติธรรม
(Justice Procedure Analysis and Integration)
3(306)
MPC  703 วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
(Research Methodology in Criminology and Justice Administration)
3(306)
MPC  602 ทฤษฎีอาชญาวิทยา
(Criminological Theory)
3(306)
MPC  604 นิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม
(Forensic Science in Justice Administration)
3(306)
MPC  620 ปัญหาอาชญากรรมและนโยบายทางอาญา
(Crime Problems and Criminal Policy)
3(306)
หมวดวิชาเลือก

สำหรับนักศึกษา แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาจำนวน 6 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้
สำหรับนักศึกษา แบบ 2.2 ศึกษารายวิชาจำนวน 9 หน่วยกิต ซึ่งมีรายวิชา ดังต่อไปนี้

นักศึกษาแบบที่ 2.1 และ 2.2 สามารถเลือกรายวิชา ดังต่อไปนี้

จำนวนหน่วยกิต(บรรยายปฏิบัติศึกษาด้วยตนเอง)

MPC  704 การบริหารงานยุติธรรมขั้นสูง
(Advanced Criminal Justice Administration)
3(306)
MPC  705 อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และการเมือง
(Economic and Political Crimes)
3(306)
MPC  706 สัมมนาปัญหาอาชญากรรมเฉพาะเรื่อง
(Seminar on Specific Crimes)
3(306)
MPC  707 สัมมนาคุณธรรม และจริยธรรมในกระบวนการยุติธรรม
(Seminar on Moral and Ethic of Justice Procedure)
3(306)
MPC  708 จิตวิทยากับพฤติกรรมอาชญากรรม
(Psychology and Criminal Behavior)
3(306)
MPC  709 อาชญากรรมและสิ่งแวดล้อม
(Crime and Environment)
3(306)
MPC  710 สัมมนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก
(Seminar on Alternative Justice Procedure)
3(306)
MPC  711 การประยุกต์ใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์อาชญากรรม
(Application of Forensic Science in Crime Analysis)
3(306)
MPC  712 เหยื่อวิทยา (Victimology) 3(306)
MPC  611 อาชญากรรมองค์กรและอาชญากรรมข้ามชาติ
(Transnational and Organized Crime)
3(306)
MPC  612 กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน
(Juvenile Justice)
3(306)
MPC  613 ความรุนแรงในครอบครัว
(Domestic Violence)
3(306)
MPC  621 อาชญากรรมไซเบอร์และเทคโนโลยี
(Cyber Crime and Technology)
3(306)
ดุษฎีนิพนธ์

จำนวนหน่วยกิต(บรรยายปฏิบัติศึกษาด้วยตนเอง)

MPC  796 การสอบวัดคุณสมบัติ
(Qualifying Examination)
0(00-0)
MPC  798 ดุษฎีนิพนธ์
(Dissertation) (แบบ 1.1)
48(0-144-72)
MPC  799 ดุษฎีนิพนธ์
(Dissertation) (แบบ 2.1)
36(0-108-54)
MPC  797 ดุษฎีนิพนธ์
(Dissertation) (แบบ 2.2)  
48(0-144-72)

การรับสมัคร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

โทรศัพท์ 029972200 ต่อ 40014005 หรือ ต่อ 5500-5510

สำนักงานรับนักศึกษา

โทรศัพท์ 0-2997-2200 ต่อ 5500-5510
โทรสาร 0-2997-2394

สำนักงาน คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ชั้น 3 ห้อง 308

ชั้น 3 ห้อง A อาคารอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

โทรศัพท์ 029972200 ต่อ 1283
โทรสาร 029972200 ต่อ 1283

email : grad@rsu.ac.th

Contact

โทรศัพท์ : 029972200 ต่อ 1283
โทรสาร : 029972200 ต่อ 1216
อีเมล : cjarsu@gmail.com

Address

มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

 

Follow us